ReadyPlanet.com
dot
dot
วัดชัยชนะสงคราม
dot
bulletพระครูมงคลสุตาภรณ์
bulletพระร้อยเอกวิวัฒน์ วิวฑฺฒโน
bulletทำเนียบวัดชัยชนะสงคราม
bulletศาสนสถานที่สำคัญภายในวัด
bulletกำหนดการงานบุญภายในวัด
bulletกำหนดการอบรมปฎิบัติธรรม
bulletรวมรูปอัลปั๊ม Photo Gallary
bulletรวมคลิปวีดีโอทั่วไป
dot
สาระน่ารู้
dot
bulletบทสวดมนต์
bulletหลวงพ่อสด จันทสโร
bulletหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
bulletความรู้เกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย
bulletความรู้เกี่ยวกับมโนมยิทธิ
bulletตำราวิชาธรรมกาย
bulletหนังสือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
bulletรวมคลิปคำสอนหลวงพ่อฤาษี
bulletประสบการณ์ฝึกสมาธิ หลวงป๋า
bulletวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
dot
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
dot
bulletพระไตรปิฎก
bulletวัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
bulletหลวงตามหาบัว (วัดป่าบ้านตาด)
bulletพลังจิต.คอม
bulletดังตฤณ.คอม
bulletwisdominside.org
bulletพลังกายทิพย์ (คุณย่าเยาวเรศ)
bulletพลังชี่กง (อาจารย์หยาง)
bulletวัดถ้ำขวัญเมือง ชุมพร
bulletsiripong.net
dot
กรองอีเมลท่าน เพื่อรับข่าวสารทางวัด

dot




มโนมยิทธิ

การฝึกด้วยตนเองสำหรับผู้ฝึกใหม่

         อันที่จริงแล้ว หลักสูตรวิชชา มโนมยิทธิ ที่ หลวงพ่อฤาษี ท่านเมตตาประยุกต์มา เพื่อสอนให้เหมาะ กับบุคคล กับยุคสมัยนั้น ต้องอาศัย ครู เข้าไปชี้แนะเพื่อเป็นการรวบรัดกำลังใจผู้เรียน ให้ได้ผลรวดเร็ว และรวบรัด  อย่างไรก็ดี ท่านที่ประสงค์จะฝึกซ้อมปฏิบัติด้วยตนเอง อาจจะเป็นด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ก็น่าจะกระทำได้ ขอแต่ให้มีความตั้งใจจริง อย่าลองเล่นๆ เท่านั้น  ส่วนผลการปฏิบัติจะเป็นเช่นไร ก็แล้วแต่ตัวท่านเอง   ด้วยเหตุผลดังกล่าว อาศัยประสบการณ์ และหลักวิชชา ข้อวัตรปฏิบัติ ที่ได้รับฟังมาจากหลวงพ่อ พอจะประมวล นำมาบอกกล่าวเป็นแนวปฏิบัติ ต่อท่านผู้สนใจใคร่ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ดังนี้
        สิ่งแรกที่สุดที่จำเป็นต้องมี คือ “ความตั้งใจจริง” เมื่อตั้งใจจะทำ ก็ต้องมี  “ความพร้อม” เป็นขั้นต่อไป ก่อนลงมือปฏิบัติ ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น   เมื่อท่านพร้อมแล้ว ก็ควรสวดมนต์บูชาพระ ณ สถานที่อันควร ในบ้านของท่าน ถ้าไม่มีห้องพระเป็นสัดส่วน อย่างน้อยๆ ท่านควรมีพระพุทธรูปสัก ๑ องค์ ตรงหน้าท่าน ไว้เป็นเครื่องระลึกถึง แทนองค์พระพุทธเจ้า และเป็นพลังใจให้อุ่นใจ  การสวดมนต์บูชาพระ ขอขมาพระรัตนตรัย และสมาทานพระกรรมฐาน นั้น ให้ปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในบทก่อน แล้วนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบตามถนัด  ให้ตัวตรงเข้าไว้ก่อน ในตอนเริ่มต้น และ ให้วางมือขวาทับมือซ้าย บนตักของท่าน  ตามแบบฉบับการนั่ง หลับตาพอสบายๆ ไม่ต้องบีบเค้นตา  ลำดับต่อไป ให้ใช้ปัญญา คิดพิจารณา ตามความเป็นจริงเสียก่อนจะภาวนา  เพื่อให้ จิต สบาย ละ วาง กิเลสตัณหาต่างๆ โดยเฉพาะ สังโยชน์ ให้เกิดการเข้าใจ รู้เห็น ตามสภาพความเป็นจริงของร่างกาย และของสรรพสิ่งในโลก เช่น  ร่างกายภายนอกของเรา และของคนอื่น เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ ๔ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ร่างกายสกปรกเต็มไปด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มีสภาพเน่าเหม็น และไม่ทรงตัว มีการเกิดขึ้น มีการเสื่อม และสลายตัวในที่สุด เราเกิดมาเท่าใด ก็ตายหมดเท่านั้น ความคงทนเที่ยงแท้ของสรรพสิ่งในโลกและร่างกาย ย่อมไม่มี การเกิดเป็นคนก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะต้องดิ้นรน หาเลี้ยงชีพ ทุกข์เพราะร่างกาย พยายามบำรุงเท่าใด มันก็ไม่ทรงตัว มันก็แก่ ก็ป่วย และทรุดโทรมไปทุกวัน  มีการพลัดพรากจากของรักคนที่เรารัก ก็เป็นอาการของทุกข์ ปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ ได้มาในสิ่งไม่พึงปรารถนาก็ทุกข์ ความตายเข้ามาถึงก็ทุกข์  ปวดอุจจาระ-ปัสสาวะก็ทุกข์ ร้อนก็ทุกข์ หนาวก็ทุกข์ ความหงุดหงิดคับข้องใจก็ทุกข์  เราทุกข์ เพราะการเกิด การมีร่างกาย ร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์  การเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม ก็มิได้เป็นสุขจริง เป็นเพียงสุขชั่วคราว เพราะต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดตามกฎแห่งกรรมอยู่อีก ก็เป็นทุกข์อีก  การจะพ้นทุกข์ได้จริง เป็นสุขแท้ ไม่มีทุกข์เจือปนเลย คือ การเข้าสู่พระนิพพาน ประการเดียว ฉะนั้น เราจึงไม่ปรารถนาการเกิดอีก ตายเมื่อไร เราขอไปพระนิพพานทันทีแบกร่างกาย แบกทุกข์เพราะขันธ์ ๕ ของตัวเองยังไม่พอ ยังไม่ฉลาด แถมไปอาจหาญแบกภาระเอาขันธ์ ๕ ของคนอื่นเข้าด้วย โดยสมมติว่าเป็นภรรยา สามี  ญาติพี่น้อง พ่อแม่ ลูกหลาน ตามการสมมติแห่งโลก ก็เป็นการเพิ่มทุกข์ ทั้งผูกทั้งพันธนาการตัวเองเข้าไว้อย่างเหนียวแน่น จึงเป็นผลให้ทุกข์หนักยิ่งขึ้น แต่แล้วก็ช่วยอะไรกันไว้ไม่ได้ ผลที่สุดต่างคนต่างขันธ์ก็แตกดับตายจากไปคนละภพและคนละภูมิ  ไม่มีใครยึดสมบัติของโลกเอาไว้ได้เลย ร่างกายของแต่ละคนก็เป็นสมบัติของโลกฉะนั้น ผู้ฉลาดปรารถนาในธรรมต้องปล่อยวางขันธ์ทั้งหลาย และภาระทางโลก อันเป็นสมมตินั้นลงเสียบ้าง แม้ชั่วขณะฝึกกรรมฐานก็ยังดี อย่าให้จิตกังวล  ฟุ้งซ่าน อะไรที่เป็นปัญหา หรือความเครียดระหว่างวัน เราจะจับจุดนั้นมาพิจารณาให้เป็นธรรมะ ให้จิตสงบละวางเสียได้ยิ่งดีใหญ่ถ้าจิตเรามันเลวขึ้นมา ลองคิดด่าตัวเองบ้างก็ได้ว่า  “อยากโง่ จึงมาเกิด ไม่รู้จักหลาบจำในทุกข์ แล้วนี่ยังจะโง่ต่อไปอีกรึ...”  การคิดนั้น ท่านพุทธบริษัทจะใช้วิธีใดข้อธรรมะใดมาพิจารณาก็ได้ตามชอบจะคิดสั้นๆ อาศัยบทพระอภิธรรม ที่เราได้ยินบ่อยๆก็ได้ ว่า  “อนิจจัง วตะ สังขารา อุปาทวยะ ธัมมิโน อุปัชฌิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสโม สุโขฯ ” จุดประสงค์ของการคิด ต้องการให้อาศัย “วิปัสสนาญาณ” การเห็นทุกข์เป็นกำลัง ช่วยให้ทิพจักขุญาณแจ่มใส และอารมณ์คิดก็มีอยู่หลายกอง มีระบุไว้ใน     ตำรา ท่านเลือกหามาพิจารณาได้ตามชอบใจข้อธรรมะที่ท่านเลือกสรรมา ต้องเสริมส่งการ “ตัดขันธ์ ๕” และให้ “เข้าใจในทุกข์” ให้เห็นว่า โลกนี้ไม่มีความหมาย เราต้องการพระนิพพานอย่างเดียว ถ้ายังติดสุขทางโลกอยู่ และเห็นว่าโลกนี้น่าอยู่ ก็ใช้ไม่ได้หลังจากพิจารณาแล้ว ก็ภาวนา แต่ก่อนจะภาวนา ให้ระลึกถึงครูบาอาจารย์และองค์สมเด็จพระพิชิตมาร ขอท่านมาโปรดสงเคราะห์ด้วยทีนี้ ท่านให้ใช้คำภาวนาว่า นะมะ พะทะ หายใจเข้าว่า นะมะ หายใจออก  ว่า พะทะ เวลาหายใจเข้าออก ปล่อยอารมณ์ตามสบาย เบาๆ ไม่เครียด ไม่ต้องหนัก  ไม่เร่งรัด ภาวนาแค่ให้จิตสบาย อย่าให้รู้สึกอึดอัด หรือมึนศีรษะ (เป็นอาการของความเครียด) และอย่าให้จิตเป็นทาสของนิวรณ์พยายามควบคุมอารมณ์จิต อย่าให้ส่าย ถ้าจิตแลบออกไปคิดเรื่องอื่น จิตฟุ้ง ต้องพยายามดึงกลับมาให้ได้ จะใช้อุบายใด ก็แล้วแต่ปัญญาและจริต ของแต่ละบุคคล หาวิธี ชักเย่อ จิตกลับมาให้ได้ ควรใช้เวลาภาวนาประมาณไม่เกิน ๒๐ นาที ถ้าดึงจิตกลับไม่ไหว มันฟุ้งเกินไป ก็ให้เลิกเสียเลย อย่าฝืนอุบาย ในการทรงจิตให้เป็นสมาธิ ขอแนะนำให้เป็นแนวทางสัก ๒ อย่าง เป็นต้นว่า  ท่านอาจกำหนดตัวอักษร นะมะ พะทะ ให้เด่นชัดตรงหน้าท่าน กำหนดให้  เล็กให้ใหญ่ อยู่ใกล้อยู่ไกลตัวท่านสลับกันไป เป็นที่เพลิดเพลินจนลืมปวดเมื่อยก็ได้  แต่ อุบาย ที่เป็นกุศโลบายที่ดีที่สุด ได้ประโยชน์ใหญ่ คือ การกำหนดเอาพระพุทธรูปของท่าน ที่มีอยู่ประจำบ้านนั่นแหละ จะปางใดก็ได้ หมายถึง พระพุทธเจ้า ทั้งสิ้นท่านนึกภาวนาในใจว่า นะมะ พะทะ ไปด้วย จับภาพพระพุทธรูปไปด้วยควบคู่กันไป นึกภาพพระให้ชัดเจน แจ่มใส เหมือนลืมตาเห็น จะเป็นสีใดก็ได้ ยิ่งเป็นแก้วใส ใสจนเป็นประกายพรึกได้ยิ่งดี แสดงถึงความสะอาดของจิตท่านด้วยสำหรับท่านที่มีความสามารถ ในการควบคุมจิต ให้เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็น  สมาธิได้เร็ว โดยไม่ต้องอาศัยอุบาย ก็ดีไปอีกแบบหนึ่ง ทีนี้ เมื่อจิตเป็น อุปจารสมาธิ แล้ว ท่านที่เคยได้วิชชานี้มาก่อนในอดีต  หรือเคยได้ทิพจักขุญาณ จะเกิดการสัมผัสการรู้เห็นด้วยจิต ว่ามีท่านใดมาสงเคราะห์  อยู่ใกล้ตัวท่าน หรืออยู่ข้างหน้าของท่าน ขอย้ำเตือนความจำอีกว่า  การเห็นของท่าน จะชัดเจนแจ่มใสเพียงใดหรือไม่ อยู่ที่จิตดี มีศีล  บริสุทธิ์ มีสมาธิทรงตัว ไม่ติดในรูปกายของเรา ไม่ติดในร่างกายของคนอื่น  และไม่ติดในทรัพย์สมบัติ คือ ต้องมีวิปัสสนาญาณดี  ถ้าจิตของท่านเลยขีดอุปจารสมาธิเข้าถึงฌาน สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ จะมีความรู้สึกสบายๆ สุขใจอยู่อย่างเดียว ไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น บางครั้งหลับไปเลยก็มีอยู่บ่อยๆ แม้ท่านที่เคยได้แล้ว บ่อยครั้งเมื่อจิตเป็นฌานจะหลับทันที เพราะร่างกายอ่อนเพลีย ต้องการพักผ่อน แต่การหลับแบบนี้มีกำไรสูงมากจากหลายวิธีการข้างต้น ข้าพเจ้าขอแนะวิธีลัด เพื่อการฝึกฝน ที่อาศัยพระพุทธรูป และการภาวนาเมื่อท่านภาวนา นะมะ พะทะ จับลมหายใจเข้าออกและกำหนด ภาพนิมิต  คือ นึกถึงพระพุทธรูป ที่ท่านชอบไปด้วย (หลายท่านอาจจะระลึกถึง หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค บางท่านก็คิดถึงหลวงพ่อฤาษี) นึกให้เห็นภาพดังกล่าวให้ชัดเจนแจ่มใส  ภาพนิมิตที่กำหนดนั้น จะเปลี่ยนสี เปลี่ยนภาพ หรือไม่ก็ตาม ให้กำหนดเอาความชัดเจนเป็นสำคัญ และถ้าลืมภาวนา แต่จิตใจยังจดจ่ออยู่ที่องค์พระก็ไม่ต้องกังวลพะวงถึงคำภาวนาอีก เมื่อท่านเห็นภาพพระพุทธรูป หรือ "ภาพนิมิต" ตามที่ท่านกำหนดแต่แรกเห็นชัดเจนแจ่มใสอยู่ตรงหน้าท่านแล้ว ให้กำหนดจิตออกไปกราบนมัสการท่านผู้นั้นหรือพระพุทธรูปทันทีพยายาม "รับสัมผัส" หรือมองดูกายใหม่ อีกกายหนึ่งของท่าน ที่ออกไปกราบพระพุทธเจ้าอยู่ หรือกราบท่านผู้เมตตามาสงเคราะห์ ตามที่เราระลึกถึงอยู่ ค่อย ๆ พิจารณาอย่าตื่นเต้น ถ้าภาพหายไป ให้ใช้ความรู้สึกสัมผัสแทน ให้ เชื่อ ตามความคิดแรก หรือ ความรู้สึกครั้งแรก เสมอ เช่น คิด หรือ เห็นว่า ตัวใหม่ของเราเป็นผู้ชาย แต่กายหยาบเป็นหญิง ก็ให้เชื่อตามนั้น คิดว่าตัวเราแต่งตัวเหมือนละครชาตรี ก็อย่าไปกังขา เชื่อเอาไว้ก่อน ตามนั้น รู้สึกว่า ท่านที่มาสงเคราะห์เคยเป็นพ่อ-แม่ หรือญาติ ก็ให้เชื่อตามนั้นการค่อยๆ พิจารณาไป จะช่วยให้เพลิดเพลิน สุขใจ ในความรู้พิเศษใหม่นี้และ มีสมาธิจิตดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะ การปฏิบัติกรรมฐาน สำคัญอยู่ที่ทำให้จิตเป็นสุข ขั้นต่อไปถ้ามั่นใจ และ "ใจกล้า" อยากไปเที่ยวที่ไหน ก็ขอให้พระพุทธเจ้า  หรือท่านผู้มาสงเคราะห์พาไป หรืออยากรู้อะไร ก็กำหนดจิตถามท่านได้ ส่วนความถูกต้องของการรู้ การเห็นนั้น ขึ้นอยู่กับความสะอาดของจิตของท่านเองเมื่อท่านทำได้อย่างนี้เท่ากับว่าท่านมี ทิพจักขุญาณ หรือได้ มโนมยิทธิกับเขาบ้างแล้ว เมื่อได้แล้วก็ต้องเพียรรักษาและฝึกฝนไว้บ่อยๆเพื่อความคล่องตัว  "ท่าน" บอกว่า ต้องให้ถึงขั้น ลืมตา รู้ เห็นได้ และ ไม่ต้อง "ตั้งท่า" จึงจะพอใช้การได้.  มโนมยิทธิ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน



หน้า 1/1
1
[Go to top]



Copyright © 2011 All Rights Reserved.

วัดชัยชนะสงคราม
( สำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดสงขลา แห่งที่ 10 )
  538 ม.3 ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110    
โทร  074-251866     
http://www.watchai.org

e-mail : info@watchai.org